เตรียมรองรับกลุ่มเปราะบาง ตามโครงการ เราชนะ

พม. เตรียมแนวทางสนับสนุน “กลุ่มเปราะบาง” เข้าถึงสิทธิตามโครงการเราชนะ เยียวยา 3,500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน

หลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ประกาศมาตรการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ระลอกใหม่ ผ่านโครงการเราชนะ จ่ายเงินเยียวยาจำนวน 3,500 บาท ต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน (ก.พ.-มี.ค.64) รวมวงเงิน 7,000 บาท ซึ่งจะเริ่มเปิดให้ลงทะเบียนในวันพรุ่งนี้ (29 ม.ค.64) ผ่านเว็บไซต์ www.เราชนะ.com เป็นวันแรก ไปจนถึงวันที่ 12 ก.พ.64

โดยกระทรวงการคลังได้แบ่ง 3 กลุ่มที่จะได้รับสิทธิเราชนะ คือ

1. กลุ่มผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
2. กลุ่มผู้ที่มีแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง”
3. ประชาชนทั่วไปที่ไม่เคยมีข้อมูลอยู่ในระบบ (ต้องลงทะเบียนใหม่)

เกี่ยวกับกรณีนี้  นางพัชรี อาระยะกุล ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เผยว่า รัฐบาลได้ประกาศมาตรการเยียวยาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคโควิด-19 ระลอกใหม่ ผ่านโครงการ “เราชนะ” เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิตที่ครอบคลุมประชาชนหลากหลายกลุ่มอาชีพ ด้วยการสนับสนุนวงเงินเยียวยา 3,500 บาทต่อคนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 2 เดือน
.
กระทรวง พม. ในฐานะหน่วยงานรัฐที่มีภารกิจสำคัญในการช่วยเหลือเยียวยากลุ่มเปราะบาง อาทิ เด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ คนไร้ที่พึ่ง และผู้ด้อยโอกาสในสังคม รวมทั้งผู้มีรายได้น้อย จึงได้เตรียมแนวทางสนับสนุนให้กลุ่มเปราะบางสามารถเข้าถึงสิทธิ์ตามโครงการ “เราชนะ”

โดยได้มอบหมายให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด ทุกจังหวัด ร่วมกับทีม พม. One Home​ ประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมทั้งเครือข่ายอื่นๆ ในพื้นที่ เพื่อประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเปราะบางทุกคนที่มีสิทธิ์ได้รับทราบและลงทะเบียนโครงการดังกล่าว อีกทั้งช่วยเหลือผู้รับบริการในสถานรับรองของกระทรวง พม. ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนให้เข้าถึงสิทธิ์ตามโครงการฯ


Share:



การให้บริการกู้ยืมเงินกองทุนฯ กรณีฉุกเฉิน (วงเงินไม่เกิน 10,000 บาท ไม่มีดอกเบี้ย ไม่มีผู้ค้ำ) สำหรับคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ


ยื่นคำร้องขอกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพ (คนพิการหรือผู้ดูแล)
กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ

รายละเอียด

  – วงเงินกู้รายละไม่เกิน 10,000 บาท ไม่มีดอกเบี้ย

  – ไม่มีผู้ค้ำประกัน

  – เปิดให้บริการยื่นกู้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2564

คุณสมบัติผู้กู้

  – มีบัตรคนพิการหรือเป็นผู้ดูแลคนพิการ

  – ต้องบรรลุนิติภาวะ (อายุ 20 ปีขึ้นไป)

  – มีถิ่นที่อยู่อาศัยแน่นอนไม่น้อยกว่า 90 วัน และมีสถานที่ประกอบอาชีพอยู่ในท้องที่ที่ยื่นกู้ สามารถติดต่อได้

  – ประกอบอาชีพอิสระที่มีรายได้เดือนละไม่เกิน 30,000 บาท

  – ต้องไม่มีประวัติเสียหาย ไม่มีหนี้ค้างกับกองทุน หรือชำระหนี้คืนกองทุนมาแล้วไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของวงเงินกู้ทั้งหมด และเมื่อได้รับการอนุมัติแล้วต้องชำระหนี้สินที่มีอยู่เดิมทั้งหมด

  – ต้องได้รับผลกระทบจาก COVID-19

เอกสารใช้ในการขอกู้

  – บัตรประจำตัวประชาชน และบัตรประจำตัวคนพิการ (สำเนา/ตัวจริง)

  – ทะเบียนบ้าน (สำเนา/ตัวจริง)

  – รายละเอียด/วัตถุประสงค์ในการขอกู้ยืมเงิน

  – แผนที่เดินทางไปที่อยู่อาศัยประจำ และสถานที่ประกอบอาชีพ โดยละเอียดอย่างละ 1 แผ่น

  – สัญญาเช่าหรือหนังสือรับรองการอยู่อาศัยในกรณีไม่มีชื่ออยู่ในภูมิลำเนาตามทะเบียนบ้านในท้องที่ที่ยื่นคำขอกู้ยืม

  – สำเนาสมุดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ (ระบุชื่อผู้ขอกู้)

** กรณีที่ผู้ดูแลคนพิการใช้สิทธิ์ในการขอกู้ยืมเงินแทนคนพิการ ต้องแสดงหลักฐานการเป็นผู้ดูแลคนพิการ เช่น

  – ชื่อผู้ดูแลที่อยู่บนบัตรคนพิการ หรือ

  – หนังสือรับรองการเป็นผู้ดูแลหรืออุปการะคนพิการ

  – เอกสารใบรับรองความเห็นของแพทย์ของคนพิการที่มีสภาพถึงขั้นไม่สามารถประกอบกิจวัตรประจำวันได้ ต้องดูแลและอุปการะคนพิการมาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน

หมายเหตุ : สำหรับการยื่นเอกสารประกอบการพิจารณา ผู้ขอกู้ยืมเงินสามารถยื่นเอกสารดังกล่าว ภายหลังจากการลงทะเบียนและการประเมินเกณฑ์เบื้องต้นว่า ผ่านการพิจารณา โดยสามารถยื่นเอกสารดังกล่าวได้ ในพื้นที่ที่ยื่นขอกู้ในระบบ

การพิจารณา

  – การพิจารณาเป็นไปตามระเบียบฯ และหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ที่กรมกำหนด

  – หากข้อมูลของท่านไม่ถูกต้อง/ไม่ครบถ้วน จะไม่ได้รับการพิจารณา

 

ขั้นตอนการใช้ระบบยื่นคำขอกู้ยืมเงินเพื่อประกอบอาชีพ
(คนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ)

1. เข้าสู่เว็บไซต์ https://efund.dep.go.th/
2. คลิกที่ปุ่ม ลงทะเบียนขอกู้เงินออนไลน์ กรณีฉุกเฉิน

3. ระบุประเภทของการยื่นกู้ ว่า คนพิการต้องการยื่นกู้ หรือผู้ดูแลกู้แทน
4. เลือกจังหวัดตามสถานที่ประกอบอาชีพ/ที่อยู่ปัจจุบัน (จะต้องเป็นจังหวัดที่คนพิการประกอบอาชีพอยู่จริง)
5. ระบุหมายเลขบัตรประจำตัวประชาชนของคนพิการที่ต้องการใช้สิทธิ์ในการยื่นกู้
6. จากนั้นกดปุ่มดึงข้อมูลคนพิการ ระบบจะแสดงชื่อ-นามสกุลอัตโนมัติ
7. ในกรณีผู้ดูแลกู้แทน ให้ระบุหมายเลขบัตรประชาชน ชื่อ-นามสกุล ของผู้ดูแล
8. จากนั้นกดปุ่มตรวจสอบข้อมูลการขอกู้ซ้ำซ้อน

9. เมื่อระบบตรวจสอบความซ้ำซ้อนแล้ว และผู้ยื่นกู้สามารถยื่นกู้ได้ ให้กดปุ่ม เริ่มคีย์คำร้อง  

10.ระบุข้อมูลคนพิการให้ถูกต้อง  

11.ระบุวัตถุประสงค์ในการประกอบอาชีพและบุคคลที่สามารถติดต่อได้  

12.ระบุรายละเอียดการชำระและประมาณค่าใช้จ่าย 

13.เมื่อกรอกรายละเอียดครบถ้วนแล้ว กดปุ่ม บันทึก เพื่อทำการบันทึกข้อมูล  

14. เมื่อบันทึกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ระบบจะแสดงเลขที่คำร้อง และให้รอการติดต่อกลับของเจ้าหน้าที่


Share:



รายงานผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างในรอบเดือน กันยายน 2563

รายงานผลการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง

ประจำเดือน เดือน กันยายน 2563


Share:



ตรวจสอบสิทธิมาตรการเยียวยากลุ่มเปราะบาง 3 กลุ่ม

ประชาสัมพันธ์ : สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเลย


Share:



การคัดเลือกเด็กดีเด่น เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ประจําปี 2564

การคัดเลือกเด็กดีเด่น เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ประจําปี 2564

                     ขอความร่วมมือคัดเลือกเด็กดีเด่น เนื่องในโอกาสวันเด็กแห่งชาติ ประจําปี2564 หลักเกณฑ์การคัดเลือกเด็กดีเด่น สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และแบบเสนอประวัติและผลงานของเด็ก

ดาวน์โหลดเอกสาร


Share:



Social media & sharing icons powered by UltimatelySocial